ความแตกต่างระหว่างเนื้อถุงแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร?

ถุงพลาสติกที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ มีหลากหลายรูปทรงให้ได้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะแป็นแบบหูหิ้ว ถุงร้อน ถุงใส แน่นอนว่าเนื้อของถุงพลาสติกนั้นก็เช่นเดียวกันนั้นก็คือมีเนื้อสัมผัสมากมายให้เลือกใช้งาน ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆ นำถุงพลาสติกมาใช้งานผิดประเภทก็อาจทำให้ไม่สามารถใช้ถุงพลาสติกนั้นๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ ในครั้งนี้เราจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเนื้อถุงพลาสติกว่าต่างกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่างถุงพลาสติกจากเนื้อแต่ละประเภทให้ได้รู้กัน

1. เนื้อถุงพลาสติก LDPE หรือ Low Density Polyethylene

เนื้อถุงพลาสติกชนิดแรกอย่างเนื้อ LDPE นั้นลักษณะเด่นของเนื้ออยู่ที่ความใส เหนียวและนิ่ม ตัวอย่างเช่นถุงพลาสติกเย็นที่นิยมใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เนื้อชนิดนี้ทนความเย็นได้ถึง -40 องศาเซลเซียลด้วยกัน เพราะฉะนั้นจึงเหมาะอย่างมากกับการใส่อาหารและนำเข้าไปถนอมในตู้เย็นหรือช่องฟรีซเป็นเวลานานๆ

2. เนื้อถุงพลาสติก HDPE หรือ High Density Polyethylene

เนื้อถุงพลาสติก HDPE หรือถุงพลาสติกร้อนขุ่น มีราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นถุงพลาสติกที่มีคุณสมบัติกลางๆ เพราะทนความร้อนได้เพียง 100 องศา ในส่วนของความเย็นก็ทนได้เพียง 0 องศาเท่านั้น จึงไม่เหมาะกับการนำถุงชนิดนี้เข้าในตู้เย็นนัก มักใช้เป็นถุงที่ใส่ของหรืออาหารสำหรับเคลื่อนย้ายในระยะเวลาสั้นๆ แล้วนำออกมารับประทานเท่านั้น

4. เนื้อถุงพลาสติก IPP หรือ Inject Polypropylene

ถุงพลาสติก IPP อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูนัก แต่เนื้อถุงพลาสติกชนิดนี้เป็นที่นิยมในการนำมาใช้เป็นถุงบรรจุภัณฑ์จำพวกขนมเบเกอรี่อย่างมาก เนื่องจากเนื้อถุงมีความใส หนา เงางาม ขึ้นรูปได้หลายแบบ จีบจีบสวยๆ ได้และราคาไม่สูง

5. เนื้อถุงพลาสติก OPP หรือ Oriented Polypropylene

ถุงพลาสติก OPP หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อถุงแก้ว มีหลากหลายรูปทรง ลักษณะเด่นของเนื้อประเภทนี้คือความใสและกรอบ นิยมใช้เพื่อใส่แบ่งแยกสินค้าแต่ละชิ้นออกจากกัน สามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อวางขายก็ได้ ถุงแก้วนั้นมีหลากหลายรูปทรง ไม่ว่าจะเป็นแบบฝากาว ปากตัด ซีลหัวท้ายหรือถุงแก้วที่สกรีนลวดลายพิเศษก็มีให้ใช้งาน

เพราะฉะนั้นใครที่กำลังสงสัยว่าเนื้อถุงภลาสติกแต่ละประเภทควรใช้กับอะไรบ้างก็คงได้คลายข้อสงสัยกันไปแล้ว ว่าแล้วเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของแต่ละเนื้อพลาสติก เพื่อนๆ ก็อย่าลืมเลือกใช้ถุงพลาสติกให้ถูกประเภทกันด้วย

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *